ปลูกผักรับประทานเองเป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพ

ในสังคมทุกวันนี้ เราทุกคนต่างมองเห็นความสำคัญเฉพาะหน้าที่ของตน งานของตน โดยลืมมองให้เลยไกลออกไปถึงวิถีชีวิตและการงานของผู้อื่นบ้าง อย่างผู้ผลิตก็ทำหน้าที่ผลิตไป ทำอย่างไร วิธีใดก็ได้ขอให้มีผลผลิตออกมา จะใส่สารเคมีให้ผู้บริโภคได้รับไปบ้างก็ไม่ต้องเป็นห่วงเป็นใยอะไร ทางด้านผู้บริโภคเองก็ทำหน้าที่บริโภคอย่างเดียว พยายามขวนขวายหาเงินหาทองเพื่อให้ได้ซื้อสินค้าหน้าตาสวยๆ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่มิได้มองว่ากว่าที่ผู้ผลิตจะได้ผลผลิตเหล่านั้นมา ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ยากลำบากมากมายเพียงใด

ฉะนั้น เมื่อใดที่คนเราเห็นอาหารเป็นเพียงสินค้า ผู้ผลิตจะไม่คำนึงถึงผู้บริโภคว่าจะได้รับพิษภัยจากอาหารนั้นแค่ไหน ถึงเวลาแล้วที่ศีลธรรมทางการผลิตและบริโภคต้องเกิดขึ้นเพื่อความเอาใจใส่ต่อกันและกันของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และเมื่อนั้นอาหารจะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพสำหรับทุกคน สำหรับข้อแนะนำต่อไปนี้ขอกล่าวรวมไว้ทั้งในแง่พฤติกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นแนวทางในอันที่จะนำไปสู่ชีวิตที่ปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น

สนับสนุนผู้ผลิตพืชผักปลอดสารพิษ

โดยวิธีที่ต้องช่วยบอกต่อๆกันไปมาอุดหนุนสินค้าของร้านค้า หรือกลุ่มเกษตรกรที่ขายพืชผักปลอดสารเคมี แม้ว่าในขั้นต้นราคาอาจจะแพงกว่าแม่ค้าที่เจือปนสารเคมีทั้งที่ต้นทุนในการผลิตมีราคาถูกกว่าก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนจำนวนมากต้องสูญเสียไปกับการดำเนินการทางการตลาด การขนส่ง เนื่องจากเครือข่ายในการตลาดยังไม่กว้างพอ แต่ในอนาคตหากทุกคนช่วยกันซื้อสินค้าประเภทนี้มากๆ ราคาของสินค้าก็จะลดต่ำลงมาโดยปริยาย

ปลูกผักไว้กินเอง

เรื่องนี้อาจจะทำได้ค่อนข้างยากสักหน่อยสำหรับสังคมในเมือง เนื่องจากจำกัดด้วยเนื้อที่ แต่ถ้ามีความตั้งใจจริงก็สามารถทำได้ อาจจะปลูกไว้ในกระถางสำหรับผักที่มีรากไม่ลึกนัก เช่น กะเพรา พริก คะน้า ตะไคร้ มะเขือ หรือแม้แต่ผักกาดขาวที่เรามักไม่ค่อยเห็นปลูกกัน ก็สามารถปลูกในกระถางได้ และเก็บกินได้ทั้งปีถ้ารู้จักวิธีเก็บ คือ ชาวสวนเขาบอกมาว่าให้เด็ดเฉพาะใบล่างแล้วเหลือยอดไว้ อย่าตัดทั้งต้น มันจะแตกใบออกมาให้ได้กินเรื่อยๆ นอกจากนี้ก็ยังมีผักอื่นๆอีกมากมายที่สามารถปลูกได้ในกระถาง แล้วการปลูกผักในกระถางนี้ควรจะปลูกแบบหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล (recycle) เนื่องจากดินมีจำกัด มีวิธีการ คือ หลังจากบริโภคแล้วให้นำสิ่งที่เหลือหรือเศษอาหารจากท่อระบายน้ำมาใช้ใหม่ มาทำเป็นปุ๋ย เพื่อหมุนเวียนผลิตอาหารได้อีก

ข้อดีของการปลูกผักกินเอง นอกจากเราจะสามารถควบคุมกรรมวิธีการปลูกให้ปลอดสารพิษได้ด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นผลงานที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ปลูกด้วย (แต่อย่าภูมิใจมากเสียจนไม่กล้ากินผักที่ปลูกเพราะเสียดายก็แล้วกัน) และถ้ากิจกรรมนี้ได้มีการทำร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวด้วยแล้ว ก็จะยิ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ของเหล่าสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

การกินอาหารที่ได้จากธรรมชาติอย่างผักสวนครัวที่เราปลูกเองกับมือ

การกินอาหารที่ได้จากธรรมชาติอย่างผักสวนครัวที่เราปลูกเองกับมือ เรามักมั่นใจเสมอว่าไม่มีสารพิษตกค้างทำให้สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างมั่นใจ และวันนี้เราก็มีผักสวนครัวปลูกและดูแลง่ายแนะนำกัน บ้านใครพอมีพื้นที่หรือมีกระถางแทรกให้พอตั้งวางริมระเบียงได้บ้าง ก็มาดูกันเลยค่ะว่ามีผักอะไรบ้างที่น่านำมาปลูกและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร รับรอง… งานนี้ลงทุนต่ำแต่กำไรเพื่อสุขภาพนั้นมากโขทีเดียว

มะเขือเทศ มะเขือเทศเป็นผักที่มีวิตามินซีสูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ไลโคปีน ช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ เป็นนางเอกของอาหารผิวสำหรับผู้หญิงชั้นเยี่ยม แค่นำมาฝานเป็นแผ่นบางแล้วพอกหน้าบ่อยๆ ก็ช่วยใบหน้าสดใส ไร้สิวและริ้วรอยได้แล้ว หากบ้านไหนปลูกมะเขือเทศแล้ว เมื่อลำต้นเริ่มเติบโตพอประมาณ อย่าลืมหาไม้มาปักหลักให้กับลำต้นด้วย เนื่องจากมะเขือเทศเป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะได้ทรงตัวตั้งตระหง่านสวยงาม
สะระแหน่ เป็นผักที่มีฤทธิ์เย็น สดชื่นหรือเป็นมินต์ในแบบไทยๆ นั่นเอง ประโยชน์จากสะระแหน่จะช่วยขับเหงื่อลดความร้อน ขับพิษไข้ หากนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยจะช่วยลดอาการอักเสบร้อนได้ ใครที่เป็นบิดให้ต้มใบสดแล้วดื่ม กลิ่นสะระแหน่เป็นกลิ่นที่ยุงเกลียดสามารถนำใบสดมาบดๆ แล้วทาบนผิวเพื่อไล่ยุงได้ นอกจากนี้ หากนำมาสกัดใช้ในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหยจะมีส่วนช่วยรักษาโรคไทรอยด์ได้ด้วย เป็นผักที่ปลูกง่าย เพียงมีพื้นที่รองรับพอประมาณหรือมีกระถางใบกลางๆ สะระแหน่ก็เติบโตให้เก็บกินได้แล้ว

พริก เห็นเป็นเม็ดเล็กๆ กระจิดริดแต่ฤทธิ์เพื่อสุขภาพนั้นมหาศาลดีทีเดียว เนื่องจากมีวิตามินซีสูง เบต้าแคโรทีนหรือวิตามินเอ และกรด Ascorbic ช่วยในการขยายเส้นเลือดในลำไส้ทำให้สามารถดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น พริกยังมีสารแคปไซซินที่ให้รสชาติเผ็ดร้อน ช่วยลดความเจ็บปวดในกล้ามเนื้อต่างๆ เมื่อปลูกเป็นผักสวนครัว สามารถดูแลง่ายไม่ยุ่งยาก แค่เลือกจากต้นกล้าที่แข็งแรงแล้วนำลงปลูกในกระถาง รถน้ำวันละ 1 ครั้ง ตากแดดริมรั้วมันก็อยู่ตัวทนทานให้ผลผลิตได้เก็บกินนาวยาวแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีพืชผักสวนครัวริมรั้วที่น่านำมาปลูกมากมาย หากพื้นที่บ้านใครค่อนข้างมีบริเวณกว้างขวางมากพอ สามารถปลูกได้แม้กระทั่งผักลำต้นสูงใหญ่อย่างต้นมะกรูด รองลงมาก็จะเป็นผักลำต้นเล็กๆ อย่างผักชี ต้นหอม ใบโหระพา กะเพรา มะเขือเปาะ ผักกาดหอม ตะไคร้ เป็นต้น สมัยนี้ การปลูกผักริมรั้วไว้กินเองเป็นอะไรที่ปลูกง่ายมาก บ้านใครไม่ได้มีพื้นดิน แค่มีกระถางก็สามารถเพาะพันธุ์ผักสวนครัวเล็กๆ ตั้งริมระเบียงไว้เก็บกินกันได้แล้ว

สารอาหารที่เราจะได้รับเพื่อสุขภาพเมื่อเราปลูกผักรับประทานเอง

การเลือกปลูกผักสวนครัวให้เหมาะกับสภาพพื้นที่อันจำกัดที่มีอยู่รวมถึงผู้ปลูกสามารถนำวัสดุเหลือใช้ภายในครัวเรือน เช่น ถังน้ำที่แตกแล้ว ขวดน้ำ พลาสติก มาดัดแปลงทำเป็นกระถางในการปลูกผักได้ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลก ทั้งยังเกาะกระแสช่วยลดโลกร้อน สร้างพื้นที่สีเขียว รวมถึงสุขภาพที่ดีให้กับผู้ปลูกและผู้บริโภค แถมท้ายหากมีความเชี่ยวชาญแล้วก็อาจจะขายสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกด้วย กำไรหลายต่ออย่างนี้ เราๆท่านๆ ที่มีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่ใกล้ๆลองหันมาทำสวนครัวกันดูไหม

การเลือกทำเลในการปลูกผักสวนครัว ก็เลือกปรับตามสภาพพื้นที่ ที่มีอยู่ เช่น ถ้าเป็นบ้านเดี่ยว อาจทำเป็นแปลงลงดินได้เลย แต่หากอาศัยอยู่ตามตึกแถว คอนโดฯ ทาวน์เฮาส์ ก็ปลูกเป็นสวนผักกระถางไว้ริมระเบียง หรือทำคอกใส่ดินไว้บนดาดฟ้า แต่ก็ควรคำนึงถึง การรับน้ำหนักของพื้นที่ดาดฟ้า รวมถึงการระบายน้ำที่ดี ไม่ให้ซึมไปยังห้องด้านล่างของดาดฟ้า รวมถึงพื้นที่จะต้องมีแสงแดดเพียงพอ มีแหล่งน้ำที่จะรดผักและมีอากาศถ่ายเทได้ดี

การปลูกลงแปลง จะใช้กับพืชที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ หรือเป็นพวกผักกินหัวหรือราก เช่น หัวไชเท้า แครอต เนื่องจากรากและลำต้นสามารถงอกทะลุผ่านเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ทั้งนี้พืชกินหัวจะไม่ทำการย้ายต้นกล้าไปปลูก เพราะจะทำให้รากของต้นผักได้รับการกระทบกระเทือน อาจชะงักการเจริญเติบโตได้ โดยจะใช้การหว่านหรือหยอดหลุม

การเพาะเมล็ดเป็นต้นแล้วย้ายไปปลูก ทำโดยนำเมล็ดไปเพาะในถาดหลุมหรือกระจาดพลาสติก เมื่อต้นกล้าผักงอกจนมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบแล้วจึงย้ายไปปลูกลงแปลงหรือลงกระถาง รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็ย หมั่นสังเกตดูการเจริญเติบโตของต้นพืช โรคและแมลงที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแปลงของเราด้วย

การดูแลใส่ปุ๋ย ก็เพียงเติมปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมัก พร้อมกับรดน้ำด้วยน้ำสกัดชีวภาพในอัตราส่วน น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน และน้ำ 500-1,000 ส่วน สัปดาห์ละครั้ง หรือน้ำสกัดชีวภาพ 2-4 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 บัวรดน้ำ และก็อย่าลืมถอนวัชพืช เด็ดใบเหี่ยวหรือแก่ออกบ้าง พืชที่ดูแลอยู่ ก็จะเจริญเติบโตได้ดีสมใจผู้ปลูก

ชวนลูกน้อยปลูกผักที่บ้าน เสริมสุขภาพและความรู้ อย่างคาดไม่ถึง

การชักชวนลูกน้อยมาปลูกผักนั้นมีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง ทั้งได้สร้างความรู้ให้ลูกน้อยอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ การรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สดใสแข็งแรง เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและอากาศที่สดชื่น

เริ่มต้นกันเลยในช่วงเวลาปิดเทอมนี้ ชวนลูกๆ มาปลูกผักทานเองกันดีไหม หรือจะปลูกดอกไม้อะไรที่ลูกชอบก็ได้ แทนที่พ่อแม่จะปลูกกันเอง ก็ชวนลูกๆ มาเล่นพรวนดิน ปลูกผักปลูกต้นไม้ ใส่ปุ๋ย รดน้ำต้นไม้กัน หากบ้านคุณมีพื้นที่เยอะก็ทำเป็นแปลงผักหรือแปลงดอกไม้ หรือถ้ามีพื้นที่น้อยก็แบ่งพื้นที่แค่บางส่วน แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ก็สามารถปลูกแบบใส่กระถางได้

ถ้าเป็นการปลูกผัก ขอแนะนำให้ปลูกผักที่ปลูกขึ้นได้ง่ายๆ อาทิเช่นผักบุ้ง หรือมะเขือเทศ โดยคุณอาจใช้วิธีเล่นเป็นเกมแข่งปลูกต้นไม้ และจากนั้นก็ต้องมีการดูแลหมั่นรดน้ำต้นไม้ที่ตัวเองปลูก แล้วดูว่าต้นไม้ของใครจะเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน

– การปลูกผักและสอนวิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องความสมดุลธรรมชาติและรู้รักษาสิ่งแวดล้อม
– การสอนวิธีใช้ชีวิตและการกินอย่างถูกสุขอนามัย จะช่วยให้ลูกเต็มใจที่จะทดลองทานผักชนิดใหม่ๆ ที่ปลูกเองมากขึ้น
– การหยิบจับสิ่งของที่ทำให้มือเปรอะเปื้อน จะทำให้ลูกตื่นเต้นและสนใจในการเรียนรู้กล้าเผชิญสิ่งที่ท้าทาย
– การแนะนำให้ลูกรู้จักแมลง จะทำให้ลูกชนะความกลัวสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นได้
– การรอให้ต้นไม้เจริญเติบโต จะทำให้ลูกหัดสังเกตและมีความอดทน
– การให้ลูกได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ในสวน จะช่วยให้ลูกมีสุขภาพกายและใจที่ดี

หลังทำกิจกรรมเสร็จแล้วคุณแม่ควรหาเครื่องดื่มเย็นๆ รสชาติอร่อยเตรียมไว้ฉลองให้กับสุดยอดนักปลูกต้นไม้ด้วย เช่นเครื่องดื่มรสช็อกโกแล็ตมอลต์ ที่เข้มข้นหอมอร่อยช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ลูกๆ และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กๆ จะช่วยให้กิจกรรมนี้สมบูรณ์แบบสุดๆ

ปลูกผักกินเองดีต่อสุขภาพ

ในยุคที่เต็มไปด้วยมลภาวะและสารพิษ จะมีอะไรดีไปกว่าการปลูกผักสวนครัวกินเอง เพราะนอกจากจะมั่นใจในความสดอร่อยได้แล้ว ยังไม่ต้องกังวลเรื่องสารพิษตกค้าง หรือราคาผักที่ราคาแพงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครมีพื้นที่ในสวนเหลืออยู่ก็อย่ารอช้า ลองมาปลูกผักสวนครัวกินเองเพิ่มสีสันให้สวนของคุณและเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในบ้านกันเลยดีกว่าจ้า

1. เลือกที่มีแดดมาก แน่นอนว่าพืชผักสวนครัวของคุณจะเติบโตแข็งแรงได้เต็มที่ ก็ต่อเมื่อได้รับแสงแดดมากพอเท่านั้น เพราะฉะนั้นก่อนจะปลูกก็ควรสังเกตดูว่าแสงแดดมักผ่านเข้ามาทางไหน เพื่อให้ผักของคุณได้รับแสงแดดเต็มที่ทุกฤดู แม้ในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวนั่นเอง

2. กะระยะห่างพอสมควร ผักผลไม้แต่ละชนิดต้องการพื้นที่ในการเติบโตแตกต่างกันออกไป เช่น มะเขือเทศควรเว้นระยะห่าง ราว 60 เซนติเมตร ในขณะที่ฟักทองต้องการพื้นที่ประมาณ 120 เซนติเมตร ส่วนผักกะหล่ำนั้นสามารถปลูกในแปลงต่อกันได้เลย เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรคำนวณดูก่อนว่าคุณมีพื้นที่ปลูกผักประมาณเท่าไหร่ แล้วลองกะระยะดูว่าพื้นที่ที่มีอยู่เหมาะจะปลูกอะไรได้บ้าง ผักของคุณจะได้เติบโตงอกงามได้เต็มที่

3. เลือกปลูกตามฤดูกาล สภาพอากาศก็เป็นอีกสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะพืชแต่ละชนิดโตได้ดีในอากาศที่ต่างกัน เช่น พืชที่เหมาะกับอากาศหนาวเย็น ได้แก่ บร็อคโคลี่ ผักกะหล่ำ แครอท ผักกาดขาว มันฝรั่ง หัวไชเท้า และผักโขม ในขณะที่พืชจำพวกข้าวโพด แตงกวา มะเขือม่วง พริกไท ฟักทอง และมะเขือเทศจะโตได้ดีในอากาศอบอุ่น เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะปลูกพืชหมุนเวียน ก็ควรศึกษาให้ดีก่อนปลูกด้วย

4. เตรียมแปลงปลูกให้เรียบร้อย เพื่อให้แปลงผักสวนครัวของคุณพร้อมเต็มที่ คุณก็ควรใส่ปุ๋ยพรวนดินไว้ก่อนที่จะซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูก จะได้ช่วยให้ดินของคุณผสมกับปุ๋ยจนอยู่ตัวพร้อมจะหว่านเมล็ดได้ทันที อย่างไรก็ดี ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 3 วันนะคะ ไม่อย่างนั้นสารอาหารต่าง ๆ ในปุ๋ยอาจเสื่อมสภาพลงไปซะก่อน นอกจากนี้ก่อนจะเริ่มปลูกก็ควรศึกษาวิธีปลูกสำหรับผักแต่ละชนิดให้ดีด้วยเหมือนกัน เพราะพืชแต่ละชนิดอาจมีวิธีปลูกแตกต่างกันไป

5. ความสดใหม่ก็สำคัญ แน่นอนว่าเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเก็บมาสด ๆ นั้น ย่อมแข็งแรงเติบโตได้ดีกว่าแบบที่เก็บนานจนเก่าอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่สดใหม่แข็งแรงมาปลูก ก็ควรอ่านฉลากด้านข้างหรือสอบถามเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อ เพื่อให้ได้ของใหม่ด้วย หรืออาจถือโอกาสเริ่มต้นซื้อหลังปีใหม่เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งนำออกขายต้นปีไปเลยก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดีเพื่อให้การทำสวนสนุกมากขึ้น อาจชวนลูก ๆ มาช่วยกันปลูก เพื่อจะได้มีกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน และสนับสนุนให้เขากินผักฝีมือตัวเองไปในดัวด้วยก็ได้นะคะ

เรื่องจริงคือผักพื้นบ้านมีสารอาหารสูงกว่าผักตามท้องตลาดมาก

ผักพื้นบ้าน

หรือผักพื้นๆเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับคนไทย ทั้งนี้เพราะเอกลักษณะของผักพื้นบ้าน คือ ความเป็นไม้พื้นเมือง แถมเป็นสายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่มีความแข็งแรง เหมาะกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของเมืองไทย คนไทยรุ่นใหม่จึงสมควรที่จะเรียนรู้และเก็บรับประสบการณ์จากคนโบราณ ซึ่งจะว่าไปแล้วคนโบราณหรือคนเฒ่าคนแก่ได้เรียนรู้โลกและถ่ายทอดบทเรียนทางธรรมชาติให้เรามากมาย คนรุ่นใหม่ยุคโลกภิวัฒน์จึงควรช่วยกันส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านไทย อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งผลดีต่อวัฒนธรรม นิเวศวิทยา และสุขภาวะของชาวไทยอีกด้วย

บรรพบุรุษไทยได้ผสมผสานองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างกลมกลืน พืชผักและสมุนไพรไทยทำให้อาหารแต่ละพื้นบ้านของไทยมีหลากหลายรสชาติ และสามารถปรับใหม่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนได้อย่างสอดคล้อง เช่น แกงส้มมีรสเปรี้ยว บำรุงธาตุน้ำ แกงเลียง แกงแค มีรสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุลม หรือเมี่ยงคำ เป็นอาหารปรับธาตุชั้นหนึ่ง เพราะมีเครื่องปรุงหลายอย่าง เช่น ใบชะพลู มะนาว พริก หอม ขิง มะพร้าว ถั่ว น้ำตาล กุ้งแห้ง สามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละคน หรือยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ ที่รวบรวม ผัก 4 ธาตุ หลากหลายชนิด

เหตุที่ผักพื้นบ้านค่อยๆหายไปนั้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผักมีประโยชน์ และคุณค่าทางสารอาหารมากแค่ไหน เนื่องจากผักทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากกว่า เพียงเดินตามท้องตลาดก็หาซื้อได้ง่าย ส่วนผักพื้นบ้านเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผักพื้นบ้านมีสารอาหารสูงกว่าผักตามท้องตลาดมาก บางชนิดมากถึงสิบเท่า มีสารบางชนิดที่มีบทบาทอย่างมากในการยับยั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างเช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เป็นต้น และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม และกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จะมีในผักพื้นบ้านค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะผักที่มีรสขม ผักทั่วไปหาไม่ค่อยพบ มีในผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น มันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักเลียงน้ำ หรือ ผักเหลียง ผักหนาม ฯลฯ

ลักษณะพิเศษของผักพื้นบ้าน

1.อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมและมีบทบาทในการรักษาโรคเรื้อรังที่เป็นโรคยอดนิยม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคข้อ โรคอ้วน ได้เป็นอย่างดี
2.เป็นแหล่งของสารผัก เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เหล่านี้ล้วนเป็นสารเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแกร่งขึ้น และเป็นสารต้านมะเร็ง มีบทบาททั้งป้องกันมะเร็ง และใช้รักษามะเร็ง
3.เป็นแหล่งของสารเส้นใย เดิมทีเราอาจจะเข้าใจว่าสารเส้นใยมีประโยชน์แต่เพียงเป็นกากอาหาร
4.เป็นสมุนไพรรักษาโรค แน่นอนพืชผักที่ใช้กันมานับเป็นเวลาพันปี ย่อมมีอะไรดีอยู่ในตัว ผักพื้นบ้านส่วนมากมีบทบาทต่อสุขภาพ ไม่ขับลมก็ช่วยย่อย มีหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาอาการตะครั่นตะครอ เวลาอากาศเปลี่ยน

การปลูกพืชผักรับประทานเองเองแบบผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพของเรา

4

ด้วยกระแสรักสุขภาพ “ผักไฮโดรโปนิกส์” จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นผักที่ปลูกโดยปลอดสารพิษ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดจะปลูกเป็นผักสวนครัวไว้กินเองในครัวเรือน คงเป็นเรื่องยุ่งยากน่าดู เพราะกระบวนการปลูกต้องอาศัยเทคโนโลยีในการวางระบบต่างๆ ทั้งเรื่องรางปลูก การไหลเวียนของน้ำ และส่งสารอาหาร จึงเป็นเรื่องไกลตัวที่คนทั่วไปจะสามารถปลูกไว้กินเองได้ ชุดแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สำเร็จรูป แบรนด์ ‘I-Green’ ช่วยให้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นเรื่องง่ายดายอย่างไม่น่าเชื่อ ขนาดคุณตาคุณยายวัยเกษียณ หรือแม่บ้านทั่วไปก็สามารถลงมือปลูกเองได้ แถมผลผลิต และคุณภาพไม่เป็นรองซื้อจากห้างสรรพสินค้า แม้แต่น้อย “ไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้วัสดุปลูก คือ จะปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช ให้รากพืชสัมผัสกับสารอาหารโดยตรง ตามรากศัพท์เดิมมาจาก ไฮโดร (Hydro) แปลว่าน้ำ และ โพโนส (Ponos) แปลว่า งาน รวมความคือ วอเตอร์-เวิร์คกิ้ง (Water-working) หมายถึงการทำงานของน้ำที่มีสารละลายธาตุอาหารผ่านรากพืช ซึ่งต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารพืช ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชให้ดี

ข้อดี เป็นระบบที่ให้ผลผลิตสะอาด เนื่องจากไม่มีการใช้ดิน สามารถลดขั้นตอนการทำความสะอาดที่ทำให้ผลผลิตต้องโดนน้ำและมีโอกาสเน่าเสียได้ สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ ทว่า มีข้อเสียต้นทุนสูง สิ้นเปลืองพลังงาน และจำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการดูแล จากที่เห็นปัญหาดังกล่าว เขาเริ่มทดลองหาวัสดุอื่นมาทดแทน โดยเลือกเป็นวัสดุ “UPVC” ซึ่งเป็น PVC ชนิดที่ใส่สารป้องกันแสง UV ไว้ มีความหนากว่า 2 มิลลิเมตร จึงมีความแข็งแรงและทนทานสูงกว่ามาก อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่วัสดุชนิดนี้จะนำไปใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านที่ใช้งานกลางแจ้ง เช่น หน้าต่าง ระเบียงประตู กันสาด เป็นต้น โดยวัสดุ “UPVC” ที่เขาเลือกเป็นเกรดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ “อาหาร” จึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในส่วนขาตั้งรางปลูกทำจากวัสดุ UPVC เช่นกัน แตกต่างจากทั่วไปที่นิยมเป็นขาตั้งเหล็ก ดังนั้น ขาตั้งที่ทำจากวัสดุ UPVC ตัดปัญหาเรื่องสนิมออกไปได้ เช่นเดียวกับนอตยึดทุกตัวเป็นอะลูมิเนียม ไม่เกิดปัญหาสนิมเช่นกัน

แนวทางในการปลูกผักรับประทานเองเพื่อสุขภาพ

แนวทางในการปลูกผักรับประทานเองเพื่อสุขภาพ

หากถามถึงอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดอย่างหนึ่งคงหนีไม่พ้น “ผัก” นานาชนิดที่ทุกคนล้วนถูกปลูกฝังตั้งแต่เล็กจนโตด้วยประโยคติดหูว่า “กินผักเยอะๆจะได้แข็งแรง” เพราะหากนับแล้วผักแทบทุกชนิดมีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่จะรับประทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นั่นคือคำถามที่นักวิชาการหลายต่อหลายคนล้วนหาคำตอบจนกลายเป็นหลายแนวทางในการรับประทานที่แตกต่างเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด บางแนวทางก็นิยมให้รับประทานผักตามสีเพื่อให้ได้รับประโยชน์ครบถ้วน เช่น ผักสีเหลืองส้ม อย่างแครอท ฟักทอง พริกเหลืองจะมีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ผักใบเขียวมีคลอโรฟิลที่ช่วยบำรุงดวงตา ผักสีแดงอย่างมะเขือเทศสุกมีไลโคปีนที่ช่วยชะลอความแก่และป้องกันมะเร็งตับอ่อน ส่วนผักสีม่วงมีแอนโธไซยานินช่วยป้องกันโรคเลือด และโรคความดัน หรือบางแนวทางก็สนับสนุนให้เลือกรับประทานผักตามกรุ๊ปเลือดเพื่อการดูดซึมอย่างสูงสุด

แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทำให้การปลูกผักมิได้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติอีกต่อไป แต่กลายเป็นระบบการปลูกผักแบบอุตสาหกรรม มีการใช้สารเคมีต่างๆ ปุ๋ยสังเคราะห์ สารเร่งโตและยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก ผักที่เห็นได้ชัดว่าถูกสารเคมีบ่มเพาะมาจนอวบอ้วนทำให้ดูสวยราคาแพงอยู่ตามตลาดหนีไม่พ้นผักบุ้ง ผักคะน้า และผักกาด ยิ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับผักที่ปลูกเองในบ้าน จะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของขนาดและความอวบอ้วน แม้จะใส่ใจพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยให้มากเป็นพิเศษ ก็ต้องใช้เวลา แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเกษตรกรไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตแบบอุตสาหกรรม เพราะประชากรมีความต้องการบริโภคที่มากมายในแต่ละวัน และพื้นที่แปลงผักก็ลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่ในกรุงเทพฯ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรมากขึ้น ส่วนพื้นที่สีเขียวในต่างจังหวัดก็กลายเป็นที่ของสิ่งปลูกสร้าง และรีสอร์ทสมัยใหม่จนมองหาสนามหญ้าได้ยากยิ่งกว่าเดิมและหากเราเชื่อในหลักการที่แพทย์กรีกนาม ฮิปโปกราตีสกล่าวไว้ว่า “You are What You Eat” การทานผักที่ผ่านกระบวนการเร่งด้วยเคมีย่อมส่งผลต่อสุขภาพส่งผลให้ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่พิถีพิถันกับการเลือกสุขภาพ ปลอดการใช้สารเคมี และมีจำนวนมากที่ลงมือปลูกเอง ซึ่งมีทั้งเครือข่ายระดับโลก เช่นสโลว์ฟู้ดที่ก่อตั้งในอิตาลี หรือในประเทศไทยเองก็มีหลายกลุ่ม อาทิ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลกหรือเครือข่ายสวนผักคนเมือง ซึ่งหากใครสนใจติดตามผลงานการปลูกผักทานเองของกลุ่มคนเหล่านี้สามารถค้นหาแนวทางดีๆ เพื่อปฏิบัติตามได้ในเฟซบุ๊กแม้การปลูกผักทานเองจะไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะผักสวนครัวที่จะปลูกกันเองไม่ได้โตพร้อมเด็ดในทุกวัน แต่ประโยชน์ทางหนึ่งที่จะได้รับอย่างชัดเจนคือผู้บริโภคสามารถชะลอการรับสารเคมีได้ในระดับหนึ่ง แถมยังเป็นการได้ออกกำลังกายทางอ้อมด้วยการปลูกผักและรดน้ำอีกด้วย

เริ่มต้นง่ายๆ กับการมีสุขภาพดี ด้วยการปลูกผักกินเอง

เริ่มต้นง่ายๆ กับการมีสุขภาพดี เป็นเคล็ดลับสุขภาพ สำหรับชีวิตอย่างแท้จริง ด้วยการปลูกผักกินเอง แม้ไม่มีพื้นที่มาก แต่ก็สามารถมีผักทานเองได้ง่ายๆ สามารถดัดแปลงได้หลากหลายเมนู ด้วยผักที่ปลูกเองกับมือ

เพราะผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ โดยผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงชึ้น

ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและช่วยลดภาวะค่าครองชีพ และจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของคนเมือง ทำให้ปัจจุบันคนเราเผชิญกับปัญหาสุขภาพการเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้นในช่วงอายุที่น้อยลง ปัจจุบันในทางการแพทย์พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อวัยวะและร่างกายเสื่อมสภาพเกิดจากอนุมูลอิสระ แต่ยังโชคดีที่เราสามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารโดยเฉพาะกลุ่มผักและผลไม้ โดยเฉพาะกับผักผลไม้ที่ปลูกเอง ใส่ใจเองจะได้คุณค่าและจิตใจที่ไม่ต้องกังวลกับสารเคมีใดๆ

จากการศึกษาค้นคว้า และผลการวิจัยจากแหล่งต่างๆ ในหลายประเทศ เห็นตรงกันว่า พืชผักจำนวนมาก มีสารอาหารที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนเราได้ โดยภายใต้สีสันอันสวยงามของพืชผักและผลไม้นานาชนิดนั้น เคล็ดลับสุขภาพบอกว่ามีกลุ่มสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือกลุ่มสารแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่เป็นตัวกำหนดสีของพืชนั่นเอง กลุ่มสารเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคร้าย อย่างโรคมะเร็งและโรคหัวใจซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก ดังนั้นถ้ากินผักและผลไม้ให้หลากหลาย เราก็จะได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ที่สามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังด้วยเคล็ดลับสุขภาพ ได้ใหม่ในโอกาสหน้า ก่อนจะลากันไป อย่าลืมหันไปปลูกผักกินเองนะคะ ปลอดภัยไร้เคมีเลยทีเดียว

การสอนให้เด็กๆปลูกผักรับประทานเองเพื่อสุขภาพร่างกาย

การสอนให้เด็กๆปลูกผักรับประทานเองเพื่อสุขภาพร่างกาย

หากถามถึงอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดอย่างหนึ่งคงหนีไม่พ้น “ผัก” นานาชนิดที่ทุกคนล้วนถูกปลูกฝังตั้งแต่เล็กจนโตด้วยประโยคติดหูว่า “กินผักเยอะๆจะได้แข็งแรง” ดังนั้นเราควรสอนให้เด็กๆรู้จักการปลุกผักทานเองเพราะหากนับแล้วผักแทบทุกชนิดมีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่จะรับประทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นั่นคือคำถามที่นักวิชาการหลายต่อหลายคนล้วนหาคำตอบจนกลายเป็นหลายแนวทางในการรับประทานที่แตกต่างเพื่อให้ผู้บริโภคและเด็กๆได้รับประโยชน์สูงสุด บางแนวทางก็นิยมให้รับประทานผักตามสีเพื่อให้ได้รับประโยชน์ครบถ้วน เช่น ผักสีเหลืองส้ม อย่างแครอท ฟักทอง พริกเหลืองจะมีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ผักใบเขียวมีคลอโรฟิลที่ช่วยบำรุงดวงตา ผักสีแดงอย่างมะเขือเทศสุกมีไลโคปีนที่ช่วยชะลอความแก่และป้องกันมะเร็งตับอ่อน ส่วนผักสีม่วงมีแอนโธไซยานินช่วยป้องกันโรคเลือด และโรคความดัน หรือบางแนวทางก็สนับสนุนให้เลือกรับประทานผักตามกรุ๊ปเลือดเพื่อการดูดซึมอย่างสูงสุด

แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทำให้การปลูกผักมิได้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติอีกต่อไป แต่กลายเป็นระบบการปลูกผักแบบอุตสาหกรรม มีการใช้สารเคมีต่างๆ ปุ๋ยสังเคราะห์ สารเร่งโตและยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก ผักที่เห็นได้ชัดว่าถูกสารเคมีบ่มเพาะมาจนอวบอ้วนทำให้ดูสวยราคาแพงอยู่ตามตลาดหนีไม่พ้นผักบุ้ง ผักคะน้า และผักกาด ยิ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับผักที่ปลูกเองในบ้าน จะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของขนาดและความอวบอ้วน แม้จะใส่ใจพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยให้มากเป็นพิเศษก็ต้องใช้เวลาแต่ก็ต้องเข้าใจว่าเกษตรกรไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตแบบอุตสาหกรรม เพราะประชากรมีความต้องการบริโภคที่มากมายในแต่ละวัน และพื้นที่แปลงผักก็ลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่ในกรุงเทพฯ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรมากขึ้น ฉะนั้นเราเลยต้องสอนเด็กๆปลูกผักกันตามบ้านหรือบริเวณบ้านก็ได้เพื่อให้เกิดประโยชน์และกิจกรรมของเด็กๆอีกด้วย การทานผักที่ผ่านกระบวนการเร่งด้วยเคมีย่อมส่งผลต่อสุขภาพส่งผลให้ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่พิถีพิถันกับการเลือกสุขภาพ ปลอดการใช้สารเคมี และมีจำนวนมากที่ลงมือปลูกเองแม้การปลูกผักทานเองจะไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะผักสวนครัวที่จะปลูกกันเองไม่ได้โตพร้อมเด็ดในทุกวัน แต่ประโยชน์ทางหนึ่งที่จะได้รับอย่างชัดเจนคือผู้บริโภคสามารถชะลอการรับสารเคมีได้ในระดับหนึ่ง แถมยังเป็นการได้ออกกำลังกายทางอ้อมด้วยการปลูกผักและรดน้ำอีกด้วยดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี และเพื่อดูแลโลกให้สวยงามกว่าเดิมเรามาลองปลูกผักไว้รับประทานกันเองดีกว่า

กินน้ำพริก และผักสด ดีต่อสุขภาพอย่างไร

กินน้ำพริก และผักสด ดีต่อสุขภาพอย่างไร

 

หลาย ๆ คนก็คงมีโอกาสได้ทำความรู้จักแต่กับอาหารแบบใหม่ รุ่นใหม่ ที่ส่วนใหญ่แล้วถูกสรรสร้างขึ้นมาเพื่อทำลายสุขภาพของตัวเรานั่นเองใช่ไหมหล่ะครับ แล้วผู้อ่านทุก ๆ ท่านคิดว่า อาหารแบบไหนหรอครับ ที่จะสามารถสร้างความแตกต่างอันมากมายในด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารดั้งเดิมอย่าง น้ำพริก จิ้มผักสด รับประทานกับข้าวสวย ก็นับว่าอร่อยพอสมควรเลยก็ว่าได้ครับ แต่แปลกตรงที่ว่าหน้าตามันอาจจะไม่ได้ดูดีเท่าไหร่ และยิ่งหากคนไหนไม่ชอบกินเผ็ด ก็ต้องยอมรับข้อนี้แตกต่างกันไป

สำหรับการรับประทานน้ำพริก จิ้มผักสดนั้นดีต่อสุขภาพอย่างไร ตำตอบง่าย ๆ ให้เราลองพิจารณากับตัวเองนั่นเองครับ ให้พิจารณาว่า เมื่อก่อนนั้น หรือว่าคนสมัยก่อนนั้น มีอายุยืนยาวได้อย่างไร คำตอบก็คือไม่มีการเปรอะเปื้อนสารเคมีมากเกินไป ไม่เหมือนกับปัจจุบัน ที่จะสามารถเกี่ยวข้องได้ทุกครั้ง และทุกวินาทีนั่นเองครับ

น้ำพริกจิ้มผัดสดนั้น มอง ๆ ดูแล้วก็เป็นการนำสมุนไพรมาแต่ละอย่าง มาตำรวมกันออกมาเป็นน้ำพริกที่มีรสชาติจัดจ้าน หากรับประทานคู่กับผักสดแล้วก็นับได้ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพกับเราดีนั่น ๆ เองครับ

การกินน้ำผัก ผลไม้ ก็ช่วยในเรื่องสุขภาพนะ

การกินน้ำผัก ผลไม้ ก็ช่วยในเรื่องสุขภาพนะ
การกินน้ำผัก ผลไม้ ก็ช่วยในเรื่องสุขภาพนะ

ในยุคที่อาหารและเครื่องดื่ม ต่างก็มีสีสันไปหมด และปรับแต่งทางด้านเคมีมากมาย เพื่อให้ถูกปาก ถูกใจเรามากที่สุด แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า เครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ได้ช่วยอะไรในชีวิตของคุณเลย เว้นแต่เพียงว่าอารมณ์ และความเครียดเพียงชั่วขณะเท่านั้น จากเดิมที่เรารับประทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม น้ำตาล ฯลฯ เคยคิดบ้างไหมครับ ที่จะลองเปลี่ยนตัวเองมาเป็นการดื่มเครื่องดื่มที่ถูกสกัดจากผัก และผลไม้อย่างจริง ๆ จัง

อาจจะด้วยเหตุที่ว่าไม่มีใครเริ่ม และอีกทั้งผักและผลไม้เหล่านี้หากถูกแปลงสภาพเป็นเครื่องดื่มแล้ว หลาย ๆ คนที่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ ก็จำเป็นจะต้องเมินหน้าหนีเป็นอย่างแน่นอนใช่ไหมหล่ะครับ เพราะว่ารสชาติที่ได้ไม่ถูกปากเราเลย เพราะปกติเราชอบรสชาติอาหารหรือเครื่องดื่มที่ถูกปากเรา ที่จะต้องหวาน ๆ สบาย ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการที่จะทำให้หวาน ๆ นั้นจำเป็นต้องใช้น้ำตาล และน้ำตาลก็เป็นตัวเพิ่มความหวานในสุขภาพร่างกายของคุณด้วยนั่นเอง

ดังนั้นการตัดใจให้ไปรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มสุขภาพจริง ๆ ควรเริ่มต้นที่ผัก หรือผลไม้ อาจจะเอาผลสด ๆ ของมันมาทำการปั่นและกินให้ติดจนเป็นนิสัย ถ้าเราสามารถทำเช่นนี้ได้ คำว่า”สุขภาพดี” คงจะไม่ไกลเกินเอื้อมครับ ตอนนี้ผมคิดว่าธุรกิจประเภทนี้ไม่ค่อยมีใครทำ เพราะเหมือนเป็นของแสลงคนเรานั่นเองครับ